เส้นโค้งที่จะได้เป็นเส้นโค้งพาราโบลา
          จากการทดลองปล่อยวัตถุให้ตกลงมาจากที่สูง วัตถุจะถูกแรงดึงดูดของโลกดูดลงมาจนกระทบพื้นดิน  ถ้า y เป็นระยะทางที่วัตถุตกลงมา (โดยวัดจากจุดที่ปล่อยวัตถุนั้น) ใช้เวลา t วินาที เราจะได้ y  =  16t2
          ถ้าใช้แกนนอนแทนเวลา  t  และแกนยืนแทนระยะทางที่วัตถุตกลงมา เขียนกราฟของ y = 16t2  จะได้พาราโบลา
          ในการยิงปืนขึ้นสู่อากาศ โดยตั้งปืนให้ทำมุมขนานหนึ่งกับแนวราบ ตามทฤษฎีแล้วกระสุนปืนจะวิ่งไปเป็นแนวเส้นตรง  แต่เนื่องด้วยแรงดึงดูดของโลก จะทำให้ระยะทางของกระสุนปืนลดลงมาในแนวดิ่ง ถ้าให้ y' เป็นระยะทางที่กระสุนปืนถูกโลกดูดลงมาในแนวดิ่งในเวลา t วินาที
          ดังนั้นจะได้ความสัมพันธ์ระหว่าง  t  และ  y'  ตามตาราง


t
 0
 4
 .....
 y'
 0
16 
64 
144 
256 
400 
 ..... 
ฉะนั้นเส้นทางที่กระสุนปืนวิ่งไป จึงเป็นเส้นโค้งพาราโบลา และในที่สุดกระสุนปืนก็จะตกลงมากระทบผิวโลก ระยะทางในแนวราบวัดจากจุดที่ยิงปืนไปจนถึงจุดที่ลูกกระสุนกระทบพื้นดิน จะขึ้นอยู่กับขนาดของมุมที่ยิงด้วย (มุมที่ยิงได้ระยะทางในแนวราบไกลที่สุดคือมุม 45 องศา มุมยิงที่เป็นมุมฉากกับแนวราบ กระสุนปืนจะถูกแรงดึงดูดของโลกดูดลงมากระทบศรีษะเราพอดี)
         วิถีของจรวดที่ยิงจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่งบนผิวโลกก็เป็นเส้นโค้งพาราโบลา มนุษย์เราสามารถส่งจรวดให้ออกไปเดินทางรอบโลก หรือออกไปสู่สุริยจักรวาลได้ก็โดยให้ความเร็วต้นของจรวดมากพอที่จะพ้นแรงดึงดูดของโลก (ประมาณความเร็ว 18,000 ไมล์ต่อชั่วโมง) และทำให้เส้นทางของจรวดเปลี่ยนจากเส้นโค้งรูปพาราโบลาเป็นรูปวงรี เพราะถ้ายังคงเป็นเส้นแบบรูปพาราโบลาแล้วจรวดจะไม่สามารถกลับมาสู่โลกได้อีกเลย
          น้ำพุที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นนั้น เราจะสังเกตเห็นได้ว่าสายน้ำพุที่พุ่งขึ้นไปและกลับตกลงมาที่ผิวน้ำอีกนั้น มีลักษณะเป็นเส้นโค้งพาราโบลาขนาดต่างๆ กัน ซึ่งทำให้แลดูสวยงามกว่าการทำให้น้ำพุ่งขึ้นไปและลงมาในแนวดิ่ง